ในบทความนี้เราจะมาต่อกันกับ Operators ในภาษาไพทอนกันนะครับ สำหรับ Operators ในบทความนี้เราจะพูดถึง Membership operators หรือ ตัวดำเนินการที่ค้นหาความเป็นสมาชิกนั่นเอง
Membership operators จะใช้ในกรณีที่เราต้องการทราบว่าสิ่งที่เราต้องการค้นหานั้น มีอยู่ ในวัตถุนั้นๆไหม (วัตถุจะเป็น list ก็ได้)
โดยมีเพียง 2 คำสั่งให้ใช้งานเหมือนกับ Identity operators ดังตารางด้านล่าง
ตัวดำเนินการ | ตัวอย่าง | คำอธิบาย |
in | A in B | จะ return ว่า True หากสิ่งที่เราต้องการหา (A) อยู่ในวัตถุ B |
not in | A is not in B | จะ return ว่า True หากสิ่งที่เราต้องการหา (A) ไม่อยู่ในวัตถุ B |
สำหรับ Membership operators จะใช้งานง่ายมากๆ และมีประโยชน์มากๆในหลายๆกรณี โดยที่เราไม่ต้องเขียน for loop หรือ recursive function เพื่อไปหาว่าสิ่งเราต้องการหานั้นอยู่ในวัตถุนั้นๆไหม
ตัวอย่างที่ 1
บรรทัดที่ 1 ให้ A เป็น list มีสมาชิก 3 ตัวคือ I Like You
บรรทัดที่ 2 ให้ B เป็นสตริงคำว่า You
บรรทัดที่ 4 ถามว่า มีสตริงคำว่า You อยู่ใน list A ไหม คำตอบคือ True เพราะคำว่า You อยู่ใน list ของ A ด้วย (ระวังตัวอักษรใหญ่เล็กด้วยเช่นกัน เพราะเป็น case-sensitive)
บางคนอาจจะคิดว่าก็เห็นอยู่ว่า You อยู่ใน list A แต่หากเราเขียนโปรแกรมขนาดใหญ่ เก็บข้อมูลเยอะ Membership operators จะมีประโยชน์มากๆเลยทีเดียว
ตัวอย่างที่ 2
รรทัดที่ 1 ให้ A เป็น list มีสมาชิก 3 ตัวคือ I Like You
บรรทัดที่ 2 ให้ B เป็นสตริงคำว่า you
บรรทัดที่ 4 ถามว่า ไม่มีสตริงคำว่า you อยู่ใน list A ใช่ไหม คำตอบคือ True เพราะคำว่า you ไม่ได้อยู่ใน list ของ A (แต่คำว่า You อยู่ สังเกต Y ตัวใหญ่และ y ตัวเล็ก)
จะเห็นว่า Membership operators นั้นมีประโยชน์มากมาย โดยเฉพาะตอนเขียนโค้ดยาวๆ การมีคำสั่งสั้นๆแบบนี้สามารถทำให้โค้ดเราดูสั้นและกระชับขึ้นเยอะมากๆ
อย่าลืมจำและนำไปใช้กันนะครับ