Variables in Python 3

ในตอนที่แล้ว เราได้เรียนรู้เกี่ยวกับ Variables หรือ ตัวแปร ในภาษาไพทอนกันแล้ว หากเป็นการทำงานที่ไม่ได้ซับซ้อนมาก การรู้ Basic ของ Variables ก็เพียงพอแล้ว แต่หากการเขียนโปรแกรมที่ใหญ่ขึ้น มีหลายไฟล์ หลายส่วนการทำงาน หรือมีเงื่อนไขอะไรบางอย่างมากขึ้น การใช้งาน Global Variables อาจจะทำให้การเขียนโปรแกรมง่ายมากยิ่งขึ้น

ก่อนอื่นเราจะมาแนะนำความแตกต่าง Local Variables กับ Global Variables

Local Variables คือตัวแปรใช้งานได้เพียงแค่ function ที่กำหนด

Global Variables คือตัวแปรที่ทุกส่วนของโปรแกรมสามารถเรียกมาใช้ได้

ในบางสถานการณ์ Local อาจจะมีความเหมาะสมในการใช้งานมากกว่า แต่บางสถานการณ์ Global อาจจะมีความเหมาะสมมากกว่า ต่อมาเรามาดูตัวอย่างของทั้ง Local และ Global Variables ในภาษาไพทอนกัน

ตัวอย่างด้านบน การที่เราเขียน x = ‘Adam’ นั่นหมายความว่า Adam เป็น Global Variable เนื่องจากทุกส่วนของโปรแกรมสามารถเข้าถึงตัวแปรนี้ได้

จากรูป บรรทัดที่ 1 คือการประกาศตัวแปร X ชื่อ Adam

บรรทัดที่ 3-4 คือการสร้างฟังก์ชั่นชื่อ myfunc ให้ปริ้น I am Adam

บรรทัดที่ 6 ก็การเรียกใช้ฟังก์ชั่น โดยการเรียกชื่อมัน

ต่อมาเรามาดู Local Variable จากรูปด้านบน

โดยบรรทัดที่ 1-3 จะเป็นการสร้างฟังก์ชั่นชื่อ myfunc เหมือนเดิม

แต่บรรทัดที่ 2 x = ‘Adam’ คือการประกาศตัวแปรแบบ local หมายความว่า x = ‘adam’ สามารถใช้ได้แค่ภายในฟังก์ชั่นนั้นๆ ไม่สามารถใช้งานใดๆนอกฟังก์ชั่นของมันเองได้

เมื่อให้ปริ้นค่า x ภายในฟังก์ชั่น จึงทำให้สามารถปริ้นได้เพราะคำสั่งปริ้นอยู่ภายในฟังก์ชั่นเช่นกัน

บรรทัดที่ 5 คือการเรียกฟังก์ชั่น

Write a comment