ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวดำเนินการแบบที่สาม นั่นก็คือ Comparison Operators
สำหรับตัวดำเนินการแบบที่สามหรือ Comparison Operators หมายถึงการเปรียบเทียบค่าของตัวแปรนั้นๆกับอีกตัวแปรหนึ่งที่เรานำมาเปรียบเทียบ
โดยตัวดำเนินการแบบที่สามนั้นมีทั้งหมด 6 แบบ ดังตารางด้านล่าง
สัญลักษณ์ตัวดำเนินการ | ตัวอย่าง | ความหมาย |
== | A == B | เท่ากับ |
!= | A != B | ไม่เท่ากับ |
> | A > 10 | มากกว่า |
< | A < 10 | น้อยกว่า |
>= | A >= 10 | มากกว่าหรือเท่ากับ |
<= | A <= 10 | น้อยกว่าหรือเท่ากับ |
ตัวอย่างเช่น เมื่อกำหนดให้ A = 10 และ B = 10
เมื่อใช้ตัวดำเนินการแบบเปรียบเทียบจะได้ผลลัพธ์ = True เนื่องจากการเปรียบเทียบนั้นเป็นจริง
หรือเมื่อใช้ตัวดำเนินการ != จะได้ผลลัพธ์เป็น False เนื่องจาก Statement ที่บอกว่า A ไม่เท่ากับ B เป็นเท็จ
สำหรับตัวดำเนินการแบบอื่นๆ เราสามารถใช้เปรียบเทียบใน Statement ได้แบบเช่นเดียวกับตัวอย่าง
เช่น >= หมายความว่า มากกว่าหรือเท่ากับ เมื่อ Statement ระบุว่า A มากกว่าหรือเท่ากับ จึงเป็น Statement ที่ถูกต้องเนื่องจาก A และ B มีค่าเท่ากับ 10
นอกจากนี้เรายังสามารถเปรียบเทียบ String ได้อีกด้วย
ตัวอย่างเช่น กำหนดให้ A = B = ‘Ant’
เมื่อ Statement ถามว่า A == B จึงเป็นจริง
แต่ในภาษาคอมพิวเตอร์จะเป็น Case sensitive กล่าวคือ Ant ไม่เท่ากับ AnT ดังนั้นตัวอย่างด้านล่างผลลัพธ์จึงเป็น False