ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวดำเนินการ หรือ Operators. ตัวดำเนินการจะใช้ในการดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยส่วนใหญ่ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร แต่ในไพทอนก็มีตัวดำเนินการที่ประโยชน์อื่นๆอีกด้วย.
ตัวดำเนินการในภาษาไพทอนนั้นถูกแบ่งออกเป็น 7 แบบใหญ่ๆด้วยกัน กล่าวคือ
1. Arithmetic Operators
2. Assignment Operators
3. Comparison Operators
4. Logical Operators
5. Identity Operators
6. Membership Operators
7. Bitwise Operators
โดยตัวดำเนินการทั้ง 7 ตัวนั้น ก็มีจุดประสงค์ในการใช้งานที่แตกต่างกันไป ซึ่งตัวดำเนินการในภาษาไพทอนบางตัวก็อาจจะไม่มีในภาษาอื่น. ต่อมาเราจะมาทำความรู้จักกับตัวดำเนินการทั้ง 7 ประเภท และ ตัวอย่างกัน
1. Arithmetic Operators หรือ ตัวดำเนินการ Arithmetic (ใช้ทำศัพท์ดีกว่า) คือตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์โดยมี 7 ตัวดำเนินการ
ชื่อตัวดำเนินการ | สัญลักษณ์ตัวดำเนินการ | ตัวอย่างการใช้ |
Addition (การบวก) | + | A + B |
Subtraction (การลบ) | – | A – B |
Multiplication (การคูณ) | * | A * B |
Division (การหาร) | / | A / B |
Modulus (มอดูลัส) | % | A % B |
Exponentiation (ยกกำลัง) | ** | A ** B |
Floor Division(การหารแบบไม่เอาเศษ) | // | A // B |
สำหรับการบวกลบคูณหารนั้น เป็นสิ่งที่ทุกคนทราบอยู่แล้ว แต่สัญลักษณ์สำหรับการคูณและหารนั้นจะแตกต่างจากการเขียนเลขคณิต โดยคูณจะใช้ * และ หารจะใช้ /
มอดูลัสคือการหารแบบเอาเศษเท่านั้น ตัวอย่างเช่น 5%2 = 1 เพราะ 1 คือเศษเหลือจากการหาร 5 ด้วย 2 หรือ 5%3 = 2 เพราะ 2 คือเศษเหลือจากการหาร 5 ด้วย 3 นั่นเอง
การยกกำลังเราจะใช้สัญลักษณ์เป็น ** เช่น 2**3 = 8
และสุดท้าย Floor Division หรือ การหารแบบไม่เอาเศษ เช่น 5/2 = 2 หรือ 17%4 = 4 นั่นเอง