ในบทความนี้ เราจะมาต่อกันที่ชนิดของข้อมูลเหมือนกับตอนที่ 1 แต่จะมาลองเล่นใน Jupyter Notebook ที่เอาไว้ใช้เขียนภาษาไพทอนกันนะครับ
หากต้องการที่จะเช็คประเภทของข้อมูลในภาษาไพทอนนั้น ให้ใช้คำสั่งว่า type( ) โดยในวงเล็บคือสิ่งที่เราต้องการเช็คนั่นเอง
จะเห็นว่า 1 เป็น int และ 10.0 เป็น float และ ‘a’ เป็นข้อมูลประเภท string
เมื่อตอนที่แล้ว เราได้พูดถึง ตัวเลขที่ไม่มีความหมายในทางคณิตศาสตร์ เช่น ‘10’ ดังนั้น เราจะใช้คำสั่ง type( ) มาเช็คกัน
ต่อมาเรามาดูการดำเนินการทางคณิตศาสตร์เบื้องต้น ในภาษาไพทอน หากเรานำ integer + integer เราจะได้ผลลัพธ์เป็น integer และ float + float จะได้ float แต่ integer + float จะได้ผลลัพธ์เป็น float เนื่องจากโปรแกรมจะปรับให้เป็นค่าที่มีความะเอียดมากกว่าเสมอ
แต่สำหรับ str เราสามารถนำข้อมูลประเภท string มาบวกกันได้ด้วย แต่จะหมายถึงการนำตัวอักขระมาติดกันแทน
รวมถึงตัวเลขแบบ str ด้วยเช่นกัน
สิ่งที่สำคัญ และไม่ควรพลาดเลยนั่นก็คือ เราไม่สามารถนำข้อมูลประเภท str มารวมกับ int หรือ float ได้ เราจะได้ error ออกมาแทน
ซึ่งหมายความว่า ไม่สามารถนำ str รวมกับ int ได้นั่นเองครับ