Protocol คืออะไร แล้วทำไมถึงน่าสนใจ

ในการสื่อสารขั้นพื้นฐานของคอมพิวเตอร์ คือ การสื่อสารแบบใช้สายเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์อีกเครื่อง จึงจะสามารถสื่อสารกันได้ แต่ด้วยการพัฒนาของการสื่อสารใน การทหารที่ใช้ระบบ Network เพื่อการติดต่อกันเองในกรมทหาร หรือ ในกองทัพเท่านั้นถึง ให้กำเนิดระบบ Network ขึ้นมา แล้วต่อมานักวิจัยในหมาวิทยาลัยได้เอาระบบ Network ไปใช้ในการถ่ายโอนเอกสารวิจัย หรือ ให้นักวิจัยท่านอื่นๆได้อ่านเอกสารวิจัยได้อย่างง่ายขึ้น ระบบ Network เลยกลายเป็นที่นิยมใช้ทั้งหลายมหาวิทยลัยจึงได้เกิดระบบ Network ให้กับคนปกติได้ใช้ในปัจจุบันนี้

การใช้ระบบ Network จำเป็นต้องข้อกำหนด หรือ มีชื่อเรียกว่า Protocol คือ ในการสื่อสารของคอมพิวเตอร์ที่มากกว่า 2 เครื่องขึ้นไปในการสื่อสารต้องมีข้อกำหนดในการโอนถ่ายข้อมูล หรือ การอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูลกับการทอะไรกับข้อมูลนั้นอะไรที่ให้ทำได้อะไรที่ไม่ให้ทำ หรือ ก็คือขอบเขตการให้ใช้งาน จึงได้มีองค์กรเกิดขึ้นมาเพื่อกำหนดมาตรฐานสากล คือ ISO หรือ ในชื่อเต็มๆว่า International Standard Organization

Protocol จะมีการแบ่งออกมาได้ 9 ประเภท

1. HTTP คือ Protocol ที่เป็นการสื่อสารผ่าน Internet และมีชื่อเต็มว่า Hypertext Transfer Protocol เป็น โปรโตคอลที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย การทำงานก็จะเป็นการเผยแพร่ข้อมูล หรือ เอกสาร คือ เป็นจุดกำเนิดของ WWW. ชื่อเต็มๆก็ World Wide Web ในตอนแรกเป็นการใช้ของนักวิจัยไว้เก็บข้อมูลเอกสารที่วิจัย และไว้แลกเปลี่ยนข้อมูลกับนักวิจัยด้วยกัน โปรโตคอลจะทำงานผ่าน web browser

2. TCP/IP คือ เป็น Protocol หลักในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ กับ ระบบ Internet มีชื่อเต็มว่า TCP (Transmission Control Protocol), Internet Protocol (IP) คือ โปรโตคอลที่ใช้ในการสื่อสารหลักมีคนใช้มากมาย การทำงานก็จะด้วยการแบ่งข้อมูลเป็นชุดๆ หรือ Packet ส่งผ่านทางอินเทอร์เน็ตจากต้นทางและจะถูกประกอบให้เป็นไฟล์เหมือนเดิมในปลายทาง

3. SMTP เป็น Protocol ที่ใช้ในการส่ง E-mail ในระบบอินเทอร์เน็ต โดยจะมีชื่อเต็มๆว่า Simple Mail Transfer จะใช้ในการส่ง-รับ E-mail เท่านั้น โดย Client ที่ใช้ SMTP ในการส่ง E-mail ก็จะส่งไปยัง mail server ก่อนจากนั้นก็จะส่งให้ไปยัง Client ฝั่งที่รับ เป็นการทำงานแบบส่ง E-mail ทั่วโลกก็จะใช้หลักการแบบนี้ในการส่ง-รับ E-mail

4. FTP Protocol ที่ใช้โอนย้ายข้อมูลไปยัง Server ชื่อเต็มๆว่า File Transfer Protocol จะใช้หลักๆในการ Upload ข้อมูลไปยัง Server เป็นวิธีที่ปลอดภัยในระดับหนึ่ง โดยมีหลักการทำงานก็จะใช้ IP Address หรือ Hosting ในการบอกที่อยู่ Server และใช้ Username และ Password ที่กำหนดโดย Server เพื่อใช้ในการ Upload/Download ข้อมูล

5. NNTP จะใช้ในการโอนย้ายข่าวสาร จะมีชื่อที่เต็มๆ ว่า Network News Transfer Protocol คือ Protocol ที่พัฒนาต่อมาจาก SMTP เพื่อใช้ในการรับ-ส่งข่าวสารโดยใช้อินเทอร์เน็ต

6. ICMP หรือ ชื่อเต็มๆว่า Internet Control Message Protocol จะใช้คู่ไปกับ IP เพื่อใช้ในการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการส่งข้อมูล ข้อความที่ผิดพลาดที่ส่งมาก็จะหายไปเมื่อถึงปลายทางที่ส่งไปถึง

7. POP3 รูปแบบโปรโตคอลอีกแบบนึ่งในการรับ E-mail มีชื่อเต็มๆคือ Post Office Protocol 3 ถ้าจะขยายคำว่ารับ E-mail ก็จะเพียงแครับเท่านั้น และจะสามารถอ่านได้โดยไม่ใช้อินเทอร์เน็ตเนื้องจาก E-mail ที่ส่งมาจะถูกเก็บโดน Server ก่อน ถ้าต้องการที่จะอ่าน E-mail ก่อนเวลาที่จะเปิด E-mail ก็จะส่งมาจาก Server มายัง Client จะทำการโหลดก่อนที่จะอ่านเวลาอ่านครั้งถัดไปถึงไม่มีอินเทอร์เน็ตก็สามารถอ่านได้

8. DHCP หรือ Dynamic Host Configuration Protocol คือ เป็นโปรโตคอลที่ใช้กับ IPAddress ในการแจกให้กับอุปกรณ์ต่างๆที่เชื่อมต่อกับเครือข่าย หรือ จะใช้กำหนดก็ได้

9. IMAP มีชื่อเต็มว่า Internet Message Access Protocol มีหหน้าที่ในการส่ง-รับข้อมูลด้วยอินเทอร์เน็ต ที่สามารถอ่าน คือ จะทำงานเหมือนกับ POP3 แต่ที่ต่างจากออกไปเป็นการที่จะสามารถทำงานได้ทั้งตอน Offline, Online โดยไม่จำเป็นต้องโหลดข้อมูลทั้งหมดที่เดียวเหมือนกับ POP3 ก็ได้

Protocol ทั้งหมดจะเน้นไปทางการรับส่งข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต เพราะว่าการที่จะส่งข้อมูลให้คนจำนวนหลายๆเครื่องหลายแหล่งที่มาก็ต้องมีการกำหนดการส่งว่า ต้องมีการส่งจากปลายทางต้องทำอย่างไงทางฝ่ายรับก็มีข้อกำหมดเหมือนกัน การใช้ Protocol ที่ถูกต้องกับสิ่งที่จะทำก็จะทำให้ง่ายต่อการจัดการ

โดย พัสดี แก้วอินทร์

Source:

https://sites.google.com/site/kuakaycom/phortokhxl-ni-rabb-kherux-khay-khxmphiwtexr-protocol

https://sites.google.com/site/sasikan7896/protocol-mi-ki-prapheth

Write a comment