ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวดำเนินการแบบที่สี่ นั่นก็คือ Logical Operators
สำหรับตัวดำเนินการแบบที่สี่หรือ Logical Operators หมายถึงรวมค่าความจริงจาก Statement ที่แตกต่างกัน ซึ่งในที่นี้จะใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย นั่นก็คือหัวข้อ ตรรกศาสตร์
โดยตัวดำเนินการแบบที่สี่ หรือ Logical Operators นั้นมีทั้งหมด 3 แบบ ดังตารางด้านล่าง
สัญลักษณ์ตัวดำเนินการ | ตัวอย่าง | ความหมาย |
And | X > 1 and X > 5 | คืนค่า True ถ้า Statements ทั้งสองเป็นความจริง |
Or | X < 3 or X < 10 | คืนค่า True ถ้าอย่างน้อย 1 Statement เป็นความจริง |
not | Not(X > 20) | คืนค่าตรงข้ามกับ Statement นั้นๆ |
Logical Operators จะใช้บ่อยมากๆในกรณีที่เราสร้าง If-Else แบบหลายเงื่อนไข ตัวอย่างการใช้งาน เช่น
ในบรรทัดที่ 1 เรากำหนดให้ X = 5 ต่อมาเรามีสอง Statements นั่นก็คือ X > 1 และ X > 3 ซึ่งทั้งสอง Statements มีค่าความจริงเป็นจริงดังนั้นเมื่อใช้ Logical Operator แบบ And เข้ามาจึงได้ค่าความจริงเท่ากับ True
ในตัวอย่างต่อมา บรรทัดที่ 1 เรากำหนดให้ X = 10
ในบรรทัดต่อมาเราจะเห็น 2 Statements เช่นเดิม คือ X > 1 และ X > 30 แต่ X > 1 มีค่าความจริงเป็นจริง แต่ X > 30 มีค่าความจริงเป็นเท็จ ดังนั้นเมื่อรวมทั้งสอง Statements เราจะได้ค่าความจริงเท่ากับจริง เพราะ Logical Operator แบบ or จะเป็นจริงเมื่อมี Statement ใดเป็นความจริง
ในตัวอย่างสุดท้าย เมื่อใดก็ตามที่เราเติม not เข้าไปที่ค่าความจริงใด จะได้ผลลัพธ์ตรงกันข้ามเสมอ เช่นตัวอย่างเดิมเมื่อเราใส่ not เราจะได้ค่าความจริงเป็น False ทันที
ตัวอย่างตารางหาค่าความจริงจากเรื่องตรรกศาสตร์
ซึ่ง 0 คือ เท็จ หรือ False
และ 1 คือ จริง หรือ True
เราจะเห็นได้ว่าสำหรับ and จะต้องเป็น True ทั้งสองกรณีผลลัพธ์จึงเป็น True
ต่างจาก or ถ้ามีกรณีใดกรณีหนึ่งเป็น True ผลลัพธ์จะเป็น True ทันที