ในบทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวดำเนินการแบบที่สอง นั่นก็คือ 2. Assignment Operators
สำหรับตัวดำเนินการแบบที่สองหรือ Assignment Operators หมายถึงการกำหนดค่าให้กับตัวแปรนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดค่าให้ตัวแปรเป็นครั้งแรก หรือ การแทนค่าใหม่ลงไปก็ตาม
โดยตัวดำเนินการแบบที่สองนั้นมีทั้งหมด 13 แบบ ดังตารางด้านล่าง
สัญลักษณ์ตัวดำเนินการ | ตัวอย่าง | ความหมาย |
= | A = 10 | A = 10 |
+= | A += 10 | A = A + 10 |
-= | A -= 10 | A = A – 10 |
*= | A *= 10 | A = A * 10 |
/= | A /= 10 | A = A / 10 |
%= | A %= 10 | A = A % 10 |
//= | A //= 10 | A = A // 10 |
**= | A **= 10 | A = A ** 10 |
&= | A &= 10 | A = A & 10 |
|= | A |= 10 | A = A | 10 |
^= | A ^= 10 | A = A ^ 10 |
>>= | A >>= 10 | A = A >> 10 |
<<= | A <<= 10 | A = A << 10 |
สำหรับตัวดำเนินการแบบ Assignment นั้นมีจุดประสงค์ที่จะลดการเขียนโค้ดลงไป เป็น Coding Style ที่เป็นที่นิยมในสมัยก่อน เช่น ภาษา C ซึ่งปัจจุบันหลายคนก็ยังใช้อยู่เช่นกัน โดยการลดรูปจะใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์อยู่กับเครื่องหมายเท่ากับ
เช่น A += 10 นั่นหมายถึง A = A + 10 นั่นเอง
สามารถใช้ได้เช่นเดียวกับตัวอื่นๆ เช่นกัน คูณ หาร โมดูลัส ยกกำลัง โดยวิธีการนี้จะไปแทนข้อมูลเดิมที่มีอยู่
เช่น
กำหนดให้ X = 100
X += 10 มีค่าเท่ากับ X = X + 10
จะทำให้ X ใหม่จะมีค่าเท่ากับ 110 นั่นเอง
สำหรับตัวดำเนินการ 5 แบบล่างสุดในตาราง คือตัวดำเนินการในเรื่องของ Bitwise Operation ซึ่งจะอธิบายละเอียดในบทความอีกครั้งหนึ่ง โดยตัวอย่างด้านบนแสดงให้เห็นว่า ตัวดำเนินการทั้ง 5 กล่าวคือ &, |, ^, >>, and << สามารถใช้ร่วมกับ Assignment Operators ได้เช่นเดียวกับ Arithmatic Operators