
การจัดการไฟล์เป็นส่วนที่สำคัญมากส่วนหนึ่งในการเขียนโปรแกรมเลยก็ว่าได้นะครับ ถ้าเราไม่ได้เขียนโปรแกรม basic ที่ประมวลผลแล้วจบภายในโปรแกรมโดยไม่ยุ่งอะไรกับส่วนอื่นก็คงไม่ต้องใช้การจัดการไฟล์ แต่ถ้าโปรแกรมของเราต้องอ่านไฟล์จากภายนอกหรือเขียนไฟล์แล้ว Save เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ หัวข้อการจัดการไฟล์นี้จะเป็นส่วนที่จำเป็นจะต้องรู้เลยทีเดียว
ในภาษา Python เรามีหลายฟังก์ชั่นเกี่ยวกับการจัดการไฟล์ กล่าวคือ Creating, reading, updating และ deleting.
อันดับแรกเรามาดูวิธีการเปิดไฟล์ขึ้นมาดูกันก่อนนะครับ เราจะใช้คำสั่ง open() โดยคำสั่งนี้จะมีเพียงสองพารามิเตอร์นั่นคือ filename และ mode
สำหรับ filename ก็คือชื่อไฟล์ และ mode คือโหมดที่เราต้องการอ่านไฟล์เข้ามาในระบบ โดยจะมี 4 โหมดในการเปิดไฟล์ดังนี้
“r” – read = เปิดไฟล์เพื่ออ่าน โดยจะ error ถ้าไม่พบไฟล์
“a” – append = เปิดไฟล์เพื่อเพิ่มข้อมูล โดยจะสร้างไฟล์ใหม่ถ้าไม่พบไฟล์
“w” – write = เปิดไฟล์เพื่อเขียน โดยจะสร้างไฟล์ใหม่ถ้าไม่พบไฟล์
“x” – create = สร้างไฟล์ที่ระบุ โดยจะ error ถ้าไฟล์มีอยู่
นอกเหนือจากนั้นเรายังสามารถใส่ parameter อีกหนึ่งตัวต่อท้ายตัวข้างบนนั่นคือ
“t” – text = ในกรณีที่เราต้องการอ่านไฟล์เป็น text
“b” – binary = ในกรณีที่เราต้องการอ่านไฟล์เป็น binary (เช่น รูปภาพ)
สำหรับตัวอย่างในการเปิดไฟล์นะครับ ส่วนใหญ่เราจะใช้ในไฟล์แบบ .txt (เพราะง่ายกว่า)

หรือหากต้องการระบุ mode ของการอ่าน เช่นต้องการอ่านในโหมด append เราก็สามารถระบุว่า ‘a’ ได้

สำหรับตัวอย่างการอ่านไฟล์จริงๆจะทำให้ดูในบทความต่อๆไปนะครับ