มาเรียน Python กันเถอะ (บทนำ)

สวัสดีค่ะ มาพบกันอีกแล้วนะคะ คราวนี้ยาวหน่อยนะคะ อย่างไรก็อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะทุกคน

ก่อนอื่นเปิดเจ้าตัว pycharm ขึ้นมาก่อนเลยนะคะ แบบนี้

จากนั้นให้ลองเขียนชุดคำสั่งตามรูปนะคะ print(“Hello World”)

จากนั้นให้คลิกขวาตรงไฟล์แล้วกด Run ‘PythonPractice’ จะได้ผลลัพธ์ดังนี้

การเขียนคำอธิบายโปรแกรม

เราจะเขียนคำอธิบายโปรแกรมเพราะว่ามันง่ายต่อการทำความเข้าใจ และง่ายสำหรับผู้อื่นที่มาทำงานเราต่อทีหลัง เราควรเขียนคำอธิบายโปรแกรมในแต่ละส่วนของการทำงาน ซึ่งการเขียนคำอธิบายโปรแกรมเป็นดังต่อไปนี้

คราวนี้เราจะมาทำความรู้จักกับตัวแปรกันค่ะ ในการเขียนโปรแกรม เราต้องใช้ข้อมูลชนิดต่าง ๆ มาประมวลผลในโปรแกรม เช่น บวก ลบ คูณ หาร เพื่อให้ได้ผลการทำงานที่ต้องการ จึงมีการจัดเก็บข้อมูลไว้ในพื้นที่ของหน่วยความจำ ซึ่งเราเรียกการแทนค่าข้อมูลในหน่วยความจำว่า “ตัวแปร”

ชนิดของข้อมูล

  1. ข้อมูลชนิดตัวเลข จะประกอบด้วยเลขจำนวนเต็ม เลขจำนวนทศนิยมและเลขจำนวนเชิงซ้อน โดยมีรายละเอียดดังนี้
  2. ข้อมูลเลขจำนวนเต็ม ประกอบด้วยเลขจำนวนเต็มที่เป็นทั้งค่าบวก ค่าลบและยังสามารถใช้กับเลขฐานได้ดังนี้
  3. เลขฐานสอง ใช้ตัวอักษร 0b นำหน้า
  4. เลขฐานแปด ใช้ตัวอักษร 0o นำหน้า
  5. เลขฐานสิบหก ใช้ตัวอักษร 0x นำหน้า
  6. ข้อมูลเลขจำนวนทศนิยม
  7. ข้อมูลเลขจำนวนเชิงซ้อน

ตัวอย่างเช่น

  1. ข้อมูลชนิดค่าความจริง เป็นข้อมูลที่มีค่าเป็นจริงหรือเท็จเท่านั้น ซึ่งจะแทนค่าความเป็นจริงด้วย true และจะแทนค่าความจริงที่เป็นเท็จด้วย false

ตัวอย่างเช่น



1.      ข้อมูลชนิด
None  เป็นค่าข้อมูลที่ไม่มีค่าข้อมูล
ไม่ใช่เก็บค่า 0 หรือเป็นค่าว่างแต่อย่างใด

ข้อมูลแบบเรียงลำดับ

  1. ข้อมูลชนิดข้อความ (String) เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยข้อความ ตัวอักษร ตัวเลขที่ไม่สามารถคำนวณได้ ตั้งแต่ 1 ตัวเรียงต่อกันในเครื่องหมาย(“ “) หรือเครื่องหมาย (‘ ‘)

ในกรณีที่มีข้อมูลเพียง 1 ตัว จะกลายเป็น character  แทน ซึ่งจะมีตัวเลขแทนแต่ละตัวอักขระไว้สำหรับใช้ไว้สำหรับใช้ในการดำเนินการเหล่านั้นว่า รหัสแอสกี้

  • ข้อมูลชนิดลิสต์ (List) เป็นข้อมูลที่ประกอบด้วยรายการข้อมูลชนิดใด ๆ เรียงต่อกันภายในเครื่องหมายวงเล็บก้ามปู […..]  และคั่นด้วยเครื่องหมายคอมม่า (,) และข้อมูลในเครื่องหมายก้ามปูสามารถเป็นค่าว่างได้ จะเรียกว่า ลิสต์ว่าง (Empty List)
  • ข้อมูลชนิดทูเปิล (Tuple) คือข้อมูลที่เรียงต่อกันด้วยเครื่องหมายคอมม่า (,)  สามารถเป็นค่าว่างได้เหมือน List แต่จะเรียงต่อกันด้วยเครื่องหมายวงเล็บ (…) และเราไม่สามารถเพิ่ม เปลี่ยนแปลง หรือลบข้อมูลในทูเปิลได้
  • ข้อมูลชนิดเซต (Set) สามารถเพิ่ม เปลี่ยนแปลง ลบข้อมูลภายในเซตได้ สามารถเป็นค่าว่างได้เหมือนข้อมูลชนิด list แต่แตกต่างกันตรงที่การจัดเก็บข้อมูลจะไม่มีลำดับ และข้อมูลเรียงต่อกันในเครื่องหมายปีกกา {…} กล่าวคือ ไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลด้วยเลขตำแหน่งข้อมูลและจะไม่เก็บข้อมูลที่ซ้ำกัน
  • ข้อมูลดิกชันนารี (Dictionary) เป็นข้อมูลที่เรียงต่อกันด้วยเครื่องหมาย (,)  เหมือนกับข้อมูลชนิดลิสต์แต่จะเรียงต่อกันภายในวงเล็บปีกกา {….} และอยู่ในรูปแบบที่ประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ส่วนคือ key:value



เอาล่ะค่ะ วันนี้ก็พอหอมปากหอมคอเนอะ เนื้อหาวันนี้อาจจะยังดูมึนๆสำหรับมือใหม่แต่รับรองเลยค่ะว่าถ้าฝึกบ่อย ๆ จะแม่นและชินไปเองค่า วันนี้ก็ขอตัวลา สวัสดีค่ะ

Write a comment