ทำความรู้จักกับข้อมูล (Data) ให้มากขึ้น ตอน 6

                  สำหรับการวัดแบบที่ 1 เราก็ได้ทราบกันแล้วว่า Weighted Mean คืออะไร และสามารถใช้ทำอะไรได้บ้าง ในบทความทำความรู้จักกับข้อมูล ให้มากขึ้น ตอนที่ 5 โดยในบทความนี้ เราจะมาอธิบายกันต่อที่ การวัดค่าเฉลี่ยในแบบที่ 2 และ แบบที่ 3

3. Geometric Mean

Geometric Mean หรือ ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต (หรือค่าเฉลี่ยมัชฌิมเรขาคณิต) เอิ่มมม… ผมว่าเรียกว่า Geometric Mean ดีกว่า Geometric ที่แปลว่าเรขาคณิต ดังนั้น Geometric Mean ก็คือ ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตนั่นเอง

สำหรับค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เราจะนำทุกเลขมาคูณกันและถอด Square root ด้วย จำนวนเลขทั้งหมด

จะเห็นได้ว่าสูตรไม่ได้มีความซับซ้อนใดๆเลย ต่อมาเรามาดูตัวอย่างกันครับ

เช่น จงหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของ 2 และ 18

วิธีทำ:

ดังนั้น ค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของ 2, 18 = 6

หากเรานำรูปเรขาคณิตมาเทียบ เราจะได้ว่า รูปขนาด 2×18 กับรูป 6×6 มีค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเท่ากันเช่นกัน

ตัวอย่างต่อมา จงหาค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของ 10, 8 และ 51.2

วิธีทำ:

ต้องอย่าลืมว่า เราต้องใส่ Square root ของ 3 ในผลลัพธ์ด้วย เพราะมีทั้งหมด 3 จำนวน

เมื่อเปรียบเทียบดู เราก็จะได้ว่า รูปขนาด 10×51.2×8 มีค่าเฉลี่ยเรขาคณิตเท่ากับรูป 16x16x16 ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของค่าเฉลี่ยเรขาคณิตของ 10×51.2×8 นั่นเอง

ตัวอย่างการใช้งานค่าเฉลี่ยเรขาคณิต เช่นการเปรียบเทียบของที่ไม่เหมือนกันด้วยกัน

เช่น คอมพิวเตอร์รุ่น A มีความเร็ว CPU = 2,000 MHz มีผู้ใช้รีวิวได้ 8 ดาว

คอมพิวเตอร์รุ่น B มีความเร็ว CPU = 2,500 MHz มีผู้ใช้รีวิวได้ 6 ดาว

ทีนี้เราอยากตัดสินใจว่าอันไหนน่าใช้กว่า เราอาจจะหาค่าเฉลี่ยจากรายละเอียดต่างๆของคอมพิวเตอร์รุ่นนั้น

ดังนั้นคอมพิวเตอร์รุ่น A ได้ 2000 + 8 / 2 = 1004

และคอมพิวเตอร์รุ่น B ได้ 2500 + 6 / 2 = 1253

จะเห็นได้ชัดว่าคอมพิวเตอร์รุ่น B น่าใช้กว่า แต่จริงๆแล้ว ความเร็วกับคะแนนรีวิวมาเปรียบเทียบกันตรงๆไม่ได้ ดังนั้นเราจึงลองใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต

ดังนั้นจะเห็นว่าเลขมากกว่าจะถูกลดความสำคัญลงไป ดังนั้นอาจจะตัดสินใจว่าคอมพิวเตอร์ รุ่น A น่าสนใจกว่าหากใช้ค่าเฉลี่ยเรขาคณิต

Write a comment